โคลนนิ่งมนุษย์

First Post Last Post  
defjam 16 กันยายน 2553 , 07:47:14
โคลนนิ่งมนุษย์ (human cloning) มหัศจรรย์วิทยาหรือมายาวิทยา?




โคลนนิ่ง คือ อะไร?

ตาม ความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว
(clone) มาจากคำภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์
ดัง นั้น การโคลนนิ่ง คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสม กัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดังนั้น การโคลนนิ่งจึงเป็นการทำสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือน กัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตำหนิเหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งในทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในสัตว์เกิดปรากฏการณ์การเกิดแฝด ขึ้นได้น้อยมาก บางรายงานกล่าวว่าแฝด คู่สอง (twin) มีโอกาสเกิดน้อยกว่า ร้อยละ 1-5 และแฝดคู่สาม คู่สี่ หรือมากกว่า มีรายงานน้อยมาก

จากข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพ ทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการสถาบัน รอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ขึ้นมา โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญ เต็มที่
การ พัฒนาวิทยาการทางด้านโคลนนิ่งเซลล์สัตว์นั้นได้เร ิ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2423 หรือ 120 ปีที่ผ่านมา การทดลองค้นคว้าวิจัยได้ เกิดขึ้นมาเป็นลำดับ อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างไปตามกาลเวลา แต่ความพยายามคิดค้นก็มิได้หยุดนิ่ง จุด เริ่มต้นการทำโคลนนิ่ง สัตว์เกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 50 โดยนักชีววิทยาอเมริกันสองคน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่งสถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดเฟีย ทั้ง สองได้ร่วมทำการทดลองโคลนนิ่งสัตว์ โดยเริ่มต้นกับกบ และได้ริเริ่มการทำ โคลนนิ่งด้วยวิธีการถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนาโดย Sperman ซึ่งกลายเป็นวิธีการทำโคลนนิ่งที่ ใช้กันทั่วไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การโคลนนิ่งสัตว์ครั้งแรกๆ ได้ประสบความสำเร็จคือ การโคลนนิ่งแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ โคลนนิ่งตัวแรกของโลก ความสำเร็จนี้ได้จุดประกายในการที่จะค้นพบเรื่องการเ พาะเซลล์

กำเนิดมนุษย์โคลนนิ่งคนแรกของโลก !!!




เรื่องของสิ่งที่อ้างกันว่าเป็น“มนุษย์โคลนคนแรกของโลก”เกิดขึ้นในห้องทดลองที่เงียบสงบในเมืองนิวอิงแลนด์ ในเช้าของวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โฮเซ่ ซิเบลลี่ นักวิทยาศาสตร์เชื้อสายอาร์เจนตินา ได้ นำไข่ของคนที่ได้จากผู้บริจาคที่เก็บไว้ออกมาจำนว นหนึ่ง จากนั้นก็นำมาดูดเอาส่วนนิวเคลียสของไข่เหล่านี้ออก ก่อนที่จะนำนิวเคลียสจากเซลล์อีกชุดหนึ่งที่ต่างออกไ ปมาใส่แทน อันเป็นวิธีการมาตรฐานสำหรับการทำโคลนนิ่งสัตว์เลี้ย งลูกด้วยนมที่ทำกันอยู่ ขณะนี้

สามวันให้หลัง “เอ็มบริโอ” (หรือ ไข่ที่ได้รับการผสมด้วยวิธีการดังกล่าว) บางส่วนที่สร้างขึ้นนี้ ... ยังคงมีชีวิตอยู่ และเอ็มบริโอเหล่านี้นี่เองที่เป็นต้นตอของข่าว “มนุษย์โคลนคนแรก” ที่โด่งดังไปทั่วโลกเมื่อต้นปีที่ผ่านมานั่นเอง
เรื่อง แรกสุดที่ควรจะต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนก็คือ เอ็มบริโอที่เกิดจากกระบวนการโคลนข้างต้น ไม่ได้มีรูปร่างเป็นเด็กที่มีแขนขาหรือรูปร่างแบบเด็ กทารกและอยู่ในครรภ์ มารดาแต่อย่างใด เอ็มบริโอที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้เป็นแต่เพียงกร ะจุกของเซลล์ที่มีขนาด ไม่เกินหกเซลล์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปลายเข็มหมุดอันเล็กๆ และอยู่ในจานเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องทดลองเท่านั้น

โคลนนิ่งมนุษย์ : ทำกันอย่างไร?

ซิ เบลลี่และทีมของเขาใช้วิธีการมาตรฐานในการทำโคลนนิ ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคือ วิธีถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer technique) ซึ่งมีหลักการคร่าวๆ คือ นำสารพันธุกรรมออกจากเซลล์ไข่ที่ต้องการใช้เสียก่อน จากนั้นนำนิวเคลียสจากเซลล์อีกชนิดหนึ่งมาใส่แทนเข้า ไปในเซลล์ไข่นั้น กระตุ้นให้เซลล์ไข่หลอมรวมกับนิวเคลียสดังกล่าว และปล่อยให้มีการแบ่งตัวเกิดเป็นเอ็มบริโอต่อไป




ใน รอบสุดท้ายทางทีมได้หันมาใช้วิธี-การที่คิดค้นโดยเทรุฮิโกะ วากายามะ (และเป็นเทคนิคที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหนูโคลนใ นปี 2541) และในครั้งสุดท้ายนี่เองที่ความสำเร็จมาเยือน ในการทดลองดังกล่าว ซิเบลลี่ทดลองโดยใช้ไข่ทั้งสิ้นจำนวน 19 ฟองและใช้นิวเคลียสจากเซลล์สองชนิดคือ เซลล์ผิวหนังและเซลล์ที่อยู่บริเวณรอบไข่ที่กำลังเติ บโต (มีชื่อเฉพาะเรียกว่า เซลล์คิวมูลัส (cumulus)) เนื่องจากเซลล์คิวมูลัสมีขนาดเล็กจึงสามารถฉีดเซลล์ท ั้งเซลล์เข้าไปในไข่ (ไม่ต้องแยกส่วนนิวเคลียสออกมา) ปรากฏว่าในกลุ่มที่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์ผิวหนังมีไข่ เพียงฟองเดียวที่แบ่ง ตัว และแบ่งตัวได้เป็นเพียง 2 เซลล์แล้วก็ไม่แบ่งอีก

ใน ขณะที่ในกลุ่มของไข่จำนวน 8 ฟองที่ได้รับการผสมจากเซลล์คิวมูลัส มีอยู่สองฟองที่เกิดการแบ่งตัว ในจำนวนนี้ ฟองหนึ่งแบ่งตัวได้เพียงสองรอบ เกิดเป็นกระจุกเซลล์จำนวน 4 เซลล์ก่อนที่จะหยุดแบ่งตัว และมีเพียงฟองเดียวเท่านั้นที่เริ่มแบ่งตัวในรอบที่ส ามเห็นเป็นกระจุกเซลล์รวม 6 เซลล์ แต่ก็หยุดเติบโตหลังจากนั้นเช่นกัน ดังรูปภาพแสดงกระบวนด้านล่างนี้







การที่จะสามารถนำวิธีการโคลนมาใช้เพื่อเตรียม “ สเต็ม เซลล์ ” (เซลล์พิเศษที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ได้) สำหรับใช้เป็น “คลังหรือแหล่งกำเนิดเซลล์” สำหรับ ใช้รักษาโรคหรือสร้างอวัยวะทดแทนในอนาคตนั้น อย่างน้อยที่สุด...เอ็มบริโอที่ได้จะต้องพัฒนาจนถึงร ะยะ “บลาสโทซิสต์” ที่เป็นก้อนเซลล์ที่มีเซลล์ราว 100 เซลล์ แต่เอ็มบริโอที่ทีมของซิเบลลี่สร้างขึ้นนั้นยังห่างไ กลจากความสำเร็จดังกล่าวอยู่มาก
อาจจะกล่าวได้ว่าเทคนิคที่ใช้ทำโคลนนิ่งในปัจจุบันนั ้น ยังเป็นเทคโนโลยีที่ถือได้ว่ายัง “ไม่สุกงอม” นัก

โคลนนิ่งมนุษย์ : ทำเพื่ออะไร?

การ โคลนแบ่งตามวัตถุประสงค์ออกได้เป็นสองอย่างคือ การโคลนเพื่อสืบพันธุ์ (reproductive cloning) และ การโคลนเพื่อบำบัดโรค (therapeutic cloning)
สำหรับการโคลนเพื่อประโยชน์ด้านการสืบพันธุ์นั้น อาจจะมีประโยชน์คือ เพื่อเป็นการช่วยผู้ที่มีความผิดปกติของเซลล์อสุจิจน ไม่สามารถมีลูกได้ตามธรรมชาติ ในลักษณะที่แม้แต่เทคโนโลยีชั้นสูงอย่าง เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF), กิฟต์, ซิฟต์ หรือ อิกซี ก็ไม่อาจะช่วยได้ เป็นต้น (สำหรับรายละเอียดของ “เทคโนโลยีช่วยกำเนิดบุตร” เหล่านี้ได้เคยเขียนถึงไว้โดยละเอียดแล้วใน UPDATE ฉบับเดือนเมษายน 2544)
นอก จากประโยชน์ในกรณีข้างต้น ตามทฤษฎีแล้ว การโคลนยังเปิดโอกาสให้เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ก่อนหน้ านี้...มีโอกาสเกิด ขึ้นได้อีกด้วยเช่น การให้กำเนิดบุตรสำหรับคู่รักร่วมเพศอย่าง “คู่เลสเบี้ยน” หรือการสร้างมนุษย์โคลนของตนเองในแบบเดียวกับที่มีกล ่าวไว้ในนิยายวิทยา ศาสตร์ เป็นต้น
การโคลนเพื่อประโยชน์ด้านการสืบพันธุ์นั้นยังเป็นข้อ ถกเถียงกันมากทั้งในแง่ของ ปัญหาด้านเทคนิค และที่สำคัญก็คือปัญหาด้านจริยธรรม กล่าว คือ สำหรับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการโคลนมนุษย์ที่เรามีอ ยู่ในปัจจุบันนั้น กระบวนการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงอันตรายต่อทั้งแม่แ ละลูกสูงมาก และอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม
สำหรับ ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการโคลนคือ การโคลนเพื่อประโยชน์ด้านการบำบัดรักษาโรคนั้น ตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า หากเราใช้เซลล์ของผู้ป่วยเองมาใช้ในการสร้างเซลล์หรื ออวัยวะใหม่เพื่อรักษาโรค ก็น่าจะเป็นประโยชน์ได้มาก เนื่องจากจะช่วยตัดปัญหาเรื่องการปฏิเสธเซลล์หรืออวั ยวะของร่างกายผู้ป่วยไปได้
นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากกระบวนการโคลนยังเป็นเหมือนการ “ตั้งโปรแกรม” เซลล์ใหม่อีกครั้ง ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเริ่มสร้างเซลล์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สเต็ม เซลล์” ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนไปเป็นเ ซลล์ชนิดต่างๆ ได้มากมายแทบไม่จำกัด ทำให้ขอบเขตในการบำบัดโรคกว้างขวางขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยเฉพาะโรคบางชนิดที่เดิมไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นไป ได้ เช่น โรคเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเซลล์ประสาทอย่าง โรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
บริษัท ACT เจ้าของผลงานการโคลนมนุษย์ อ้างเหตุผลว่าการทดลองของบริษัทตนทำไปเพื่อประโยชน์ด ้านการบำบัดโรค โดยเซลล์จากผู้ป่วยจะถูกนำไปใช้สำหรับการทำเนื้อเยื่ อหรืออวัยวะทดแทน สำหรับผู้ป่วย ผ่านทางการสร้างสเต็ม เซลล์จากเอ็มบริโอ และทางบริษัทสนับสนุนให้ “จำกัดการทำโคลนนิ่งเพื่อสืบพันธุ์” จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องของความปลอดภัยและจริย ธรรมให้เรียบร้อยเสีย ก่อน


. ข้อระมัดระวังและประเด็นสำคัญของโคลนนิ่ง

ที่สำคัญที่สุดในด้านจริยธรรม ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนประธานาธิบดี บิล คลินตัน สั่งระงับการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ไว้ก่อน ได้แก่การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที ่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
การ ทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น

.อนาคตของการโคลนนิ่งมนุษย์

เรื่อง ของการโคลนยังคงสร้างความประหลาดใจให้กับเราๆ ท่านๆ ได้ทุกครั้งที่มีข่าวใหม่ๆ ออกมานะค่ะ ในอนาคต การโคลนนิ่งเพื่อสืบพันธุ์ก็คงจะยังคงมีการต่อต้านกั นต่อไป ในขณะที่หลายคนคงเชื่อว่า ในขณะนี้น่าจะมีการทำโคลนนิ่งมนุษย์ กันอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว และเราน่าจะได้เห็น “มนุษย์โคลน” ที่เป็น “เด็กจริงๆ” ในอนาคตอันไม่ไกลนัก
เห็น ได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ท ี่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโ ยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร"
ใน อีกทางหนึ่ง เทคนิคการโคลนเพื่อบำบัดโรคก็กำลังหาที่ทางของตนเองอ ยู่ ข้อมูลการทดลองค้นคว้าในอนาคตคงจะเป็นตัวชี้ขาดว่า การทำโคลนนิ่งเพื่อการบำบัดโรคนั้นจะมีประโยชน์ และน่าทำอย่างที่หลายๆ คนในขณะนี้เชื่ออยู่หรือไม่

คุณ ล่ะค่ะ...คิดว่าการทำ “โคลนนิ่งมนุษย์” เป็นเรื่องของความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ และเป็นการเปิดพรมแดนความรู้ใหม่ ที่อาจจะเทียบชั้นมนุษย์ให้สามารถ “ สร้างชีวิต ” ได้ด้วยวิถีทางใหม่...ประดุจดังทำตนเป็นพระเจ้าเสียเ อง หรือเป็นเพียง “ ภาพมายา ” ของเทคโนโลยีที่ยังพัฒนาไม่ได้ที่ และจะเป็นอยู่เช่นนี้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น?

เครดิตจาก Dek-d.com